เมนู

บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ (ธรรมเทศนา) ที่พระองค์เองทรงยก
ขึ้น อธิบายว่า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกเหล่าอื่น.
บทว่า อุทฺทิสฺสกตํ ได้แก่ มังสะที่เขาทำเฉพาะตน.
บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ มีความว่า มังสะที่เขาเจาะจงตนกระทำอีกอย่าง
หนึ่ง คำว่า ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า
ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม
ก็เพราะเหตุว่า ในมังสะนี้มีปฏิจจกรรมนั้น. จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคมังสะเห็น
ปานนั้น. ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น อธิบายว่า กรรม คือ การ
ฆ่าสัตว์ย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น เหมือนมีแก่ผู้ฆ่าเอง.
บทว่า น ชีรนฺติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เมื่อกล่าวตู่อยู่
ชื่อย่อมไม่สร่างไป อธิบายว่า ย่อมไม่มีถึงที่สุดแห่งการกล่าวตู่. กถาแสดง
มังสะมีความบริสุทธิ์โดยส่วนสาม ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสังฆเภท
สิกขาบท1

ว่าด้วยกัปปิยภูมิ


บทว่า ปจฺจนฺติมํ นี้ สักว่าตรัส แต่ว่า ถึงวิหารใกล้ก็ควรจะสมมติ
ได้ เพราะพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ยํ สงฺโฆ อากงฺขติ แปลว่า สงฆ์หวังจะ
สมมติที่ใด แม้จะไม่สวดกรรมวาจา สมมติด้วยอปโลกน์แทน ก็ควรเหมือน
กัน.
บทว่า สกฏปริวตฺตกํ มีความว่า พักอยู่ ประหนึ่งทำให้ห้อมล้อม
ด้วยเกวียนทั้งหลาย.

1. สมนฺต. ทุติย. 115.